วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

การบันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

 -อาจารย์  ทบทวนมาตรฐานคณิศาสตร์ 
จำนวน คือ ปริมาณ
มาตรฐาน คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ
ประสบการณ์ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
   ** การเขียน Mymapping  อันดับแรกที่จะต้องแตก คือ
1.ชนิด
2.ประเภท
3.ลักษณะ
4.ประโยชน์
5.ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง
6.การขยายพันธ์

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

การบันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

   -อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมาส่งงาน Mymapping และ มาตรฐานที่เป็นงานเดี่ยว
      -อาจารย์ ได้แนะนำในการทำงานในครั้งนี้
วิธีการเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
1.จะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
2.มีประโยชน์กับตัวเด็ก
3.จะต้องเป็นเรื่องที่เด็กรู้จัก
4.สามารถเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้
5.เป็นเรื่องง่ายๆเด็กสามารถทำได้
6.เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7.เนื้อหาจะต้องมีความสำคัญกับเด็ก
8.จะต้องมีผลกระทบกับตัวเด็ก
  -อาจารย์ ได้ทำตัวอย่าง Mymapping  ของกลุ่มที่ทำเรื่องไข่ให้ดู

การบ้านสัปดาห์นี้
 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานของตนกลับไปแก้ไขให้ดีกว่าเดิม

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การบันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

-อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์การสอนลูกคิด
   อาจารย์ ได้ให้กลุ่มที่ 1 กลับไปทำมาใหม่ โดยให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าเดิมและให้มีความแข็งแรงคงทนมากขึ้นและสามาร๔ให้เด็กๆมองเห็นลูกคิดได้ในขณะที่แขวนไว้
กลุ่มที่ 2 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์กราฟ / แผนภูมิแท่ง
   อาจารย์ ได้แนะนำว่า ให้กลับไปทำที่จับเชือกด้านหลังไว้สำหรับดึงเชือกเวลาปรับเปลี่ยนปริมาณตัวเลขด้านหน้า
กลุ่มที่ 3 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ปฏิทิน
   อาจารย์ ได้แนะนำกับกลุ่มที่ 3 ว่า จะต้องเอากลับไปปรับปรุงใหม่ให้มีความแข็งแรงคงทนต่อการใช้งาน และ ตัวอักษร จะใช้เพลดหรือปริ้นข้อความเพื่อจะได้ความสวยงามอ่านได้ง่ายขึ้น
รูปแบบการติดข้อความ ข้อความจะต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นและจะต้องติดโดยรูปแบบที่เด็กอ่านแล้วเข้าใจ
  ควรจะต้องมีสัญลักษณ์วันเกิดของเด็กในวันนั้นๆ เช่น บันทึกวันเกิด  เวรทำความสะอาดหรือผู้นำออกมาพูด
       เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรี่องของ ปริมาณ การนับ ลำดับเชิงนามธรรม จำนวน 
อาจารย์ ได้เขียนตัวอย่าง Mymapping หน่วย ผัก 
การบ้านในสัปดาห์นี้
  -ให้แต่ละกลุ่มไปคิดว่าจะเขียนหน่วยอะไรแล้วให้ทำมาเป็น Mymapping เหมือนกับที่อาจารย์ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  -เขียนเป็นมาตรฐานมา 5 วัน คือ วันจันทร์-วันอาทิตย์
  -สัปดาห์หน้าออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

การบันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

อาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันประดิษฐ์สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย

                                สื่อ กราฟ / แผนภูมิ


วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัยด้านคณิตศาสตร์

                แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทาง

คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นมี

ประสิทธิภาพเท่ากับ 85.69/87.43  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  

ที่กำหนดไว้ ผลการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนคือ 85.69 และ73.33 

สำหรับด้านความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนา

ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  

มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 ความพึง

พอใจอยู่ในระดับมาก  ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  แบบฝึก

ทักษะเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์  มีความเหมาะ

สมที่จะนำไปใช้ในการบูรณาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก

ปฐมวัย