วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5



 - อาจารย์  ชี้แจง
   วันจันทร์  ให้นักศึกษาทุกคนไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใกล้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม มหาราชและเวลา13.00.-17.00มาร้องเพลง
   วันอังคาร  เวลา 16.00.  อาจารย์นัดเจอกันที่ลานเพลิงเพื่อที่จะมาเต้นถวายพระพรเพื่อพ่อหลวง 
** ให้นักศึกษาแต่งกาย ใส่เสื้อสีเหลือง  กางเกงวอม  รองเท้าผ้าใบ

** ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ(นิตยา  ประพฤติกิจ.2541.17-19)
1. การนับ คือ การเรียงตัวเลข จากนั้นเป็น การนับลำดับที่ตำแหน่ง จะได้เป็น จำนวน แล้วจะใช้ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  
2. ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มีไว้บอก ค่า  จำนวน  สัญลักษณ์  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ                               
3. การจับคู่ คือ การจับคู่เหมือน เช่น รูปร่าง  รูปทรง  จำนวน
4. การจัดประเภท คือ กำหนดเกณฑ์ เราไม่ควรกำหนด 2 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กสับสนแยกแยะไม่ออก ถ้าต้องกำหนดเกณฑ์ต้องกำหนดเพียง เกณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ เป็นการวางพื้นฐาน              
5. การเปรียบเทียบ คือ ทักษะการสังเกตเป็นขั้นต้น คือ การกะประมาณ คือ 1.หาค่า/หาปริมาณ   แล้วมา   2.มาเปรียบเทียบกัน แล้ว เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงในการเปรีบยเทียบโดยการ  ตัดออก  การลบ  การบวก
6. การจัดลำดับ คือ การหา ค่า / ปริมาณ แล้วมา เปรียบเทียบ แล้วมา จัดวางเรียงลำดับ แล้วนำ ตัวเลขมาลำดับกำกับ
7. รูปทรงและเนื้อที่ คือ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด คือ การหาค่า/ปริมาณ ที่เป็น หน่วย/เครื่องมือในการวัด(สำหรับเด็กจะไม่เป็นทางการ)  เครื่องมือกึ่งมาตรฐาน เช่น ฝ่ามือ  เครื่องมือมาตรฐาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
9. เซต คือ การอยู่เป็นคู่ เช่น จำนวน คู่กับจำนวน (1,1)
10. เศษส่วน อันดับแรกต้องรู้จักคำว่าทั้งหมด”  และ ครึ่ง(แบ่งครึ่ง)” เช่น การแบ่งขนมคนละครึ่ง  หรือ  มีเด็ก คนมีขนม ชิ้น ต้องแบ่งขนมให้ได้ ส่วน 4ของแต่ละชิ้น แต่ละคนให้เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5การทำตามแบบ คือ การเล่น เช่น การเล่นเกมกระต่ายขาเดียวแล้วจะต้องให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกและตัดสินใจทำเองและทำโดยไม่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง
12. การอนุรักษ์ คือ การตอบตามที่ตามองเห็นที่เป็นรูปธรรม เช่น ตัวอย่าง การเทน้ำใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน
     (เยาวภา  เดชะคุปต์.2542.87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูครวศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1-10
3. ระบบจำนวน/ชื่อของตัวเลข   1=หนึ่ง  / 2=สอง
4. ความสัมพันระหว่างเซต
5. การรวมกลุ่ม
6. ลำดับที่
7. การวัด
8. รูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
9. สถิติและกราฟ
    จาก แนวคิดของทั้งสองท่านที่ได้กล่าวมานั้น อ.นิตยา  ประพฤติกิจ และ อ.เยาวภา  เดชะคุปต์ มีแนวคิดที่เหมือนกันแต่ที่แตกต่างกัน คือ หัวข้อ สถิติและกราฟ ที่ อ.นิตยา ประพฤติกิจ ไม่มี

     - อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน แล้วใหทำงาน 12 หัวข้อ

การบ้านสัปดาห์นี้

    1. ทำงานคู่ 12หัวข้อ 
การบ้านสัปดาห์หน้า
    2. อาจารย์  ให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง กล่องอะไรก็ได้ เช่น กล่องใส่ครีม  กล่องยาสีฟัน....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น